รับทำแบบ SHOP DRAWING ,แบบAS BUILT และ BAR CUT LIST
รับทำแบบ SHOP DRAWING , แบบAS BUILT และ BAR CUT LIST
Shop Drawing คือแบบที่เขียนขึ้นมาเพื่อใช้ทำงานจริงๆ ณ สถานที่ก่อสร้างเพราะโดยปกติแบบที่เขียนจากบรรดาสถาปนิก-วิศวกร จะแยกส่วนออกจากกันทั้งที่การก่อสร้างจะต้องสัมพันธ์กัน เกี่ยวข้องกัน เชื่อมต่อกัน เช่นห้องน้ำห้องหนึ่ง จะมีแบบสถาปัตยกรรมแสดงขอบเขตของห้อง แสดงผนัง-ประตู-หน้าต่าง-สุขภัณฑ์ รายละเอียดของคานและพื้นแสดงอยู่ในแบบวิศวกรรมโครงสร้าง การเดินท่อน้ำ-ท่อส้วม-ท่อระบาย จะแสดงอยู่ในแบบวิศวกรรมสุขาภิบาล รายละเอียดดวงโคม-สวิตช์-ปลั๊ก แสดงอยู่ในแบบวิศวกรไฟฟ้า ซึ่งในการก่อสร้างจริง รายละเอียดทุกอย่างจะต้องสอดประสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การเขียน Shop Drawing ที่จะเอารายละเอียดทุกอย่างมาอยู่ในแผ่นเดียวกัน จึงเป็นเรื่องจำเป็นและประกันความมั่นใจว่างานก่อสร้างนั้น สามารถทำงานได้จริง ไม่ใช่โถส้วมวางอยู่ใกล้คานมากเกินไป ท่อส้วมเลยต้องวิ่งผ่านคาน (ซึ่งหากเป็นคานขนาดเล็กก็จะทำให้อาคารวิบัติได้) หรือก๊อกน้ำหมุนเปิดไม่ได้เพราะหัวโตเกินไปจนปิดเปิดไม่ได้เนื่องจากไปติดผนังเป็นต้น สิ่งดังกล่าวนี้จะเกิดปัญหาน้อยลง หากเราเสียเวลาเขียน Shop Drawing สักนิดนึงค่ะ
AS-Built Drawing คือแบบที่เขียนขึ้นหลังจากการก่อสร้างเสร็จไปเรียบร้อยแล้ว โดยแบบ AS-Built Drawing นี้จะแสดงรายละเอียดของสิ่งที่ได้ก่อสร้างไปจริง ๆ เช่นแนวทางเดินสายไฟ แนวทางเดินท่อน้ำ ลักษณะประตูหน้าต่าง ฯลฯ แบบ AS-Built Drawing นี้อาจจะแตกต่างจากแบบก่อสร้าง (Construction Drawing) และ Shop Drawing ก็ได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงเพื่อความเหมาะสมในงานก่อสร้างหน้างานเป็นเรื่องธรรมดา (เช่นเจ้าของโครงการสั่งเปลี่ยนตำแหน่งดวงโคม เป็นต้น)
Bar-Cut List คืออะไร ? Bar-Cut List ,Bar cutting list หรือ Bar list คือการวางแผนการตัดขนาดวัสดุ (ในงานก่อสร้างนี้จะหมายถึงเหล็กเส้น) เพื่อนำไปใช้ในการก่อสร้างโดยรายละเอียดส่วนนี้จะประกอบด้วยชนิด ขนาด จำนวน และตำแหน่งที่จะนำไปใช้ แต่ทั้งนี้รายละเอียดต่างๆเช่นระยะการงอปลาย ตำแหน่งและระยะการต่อทาบเหล็ก(ในกรณีที่ความยาวโครงสร้างยาวเกินขนาดความยาวของเหล็กเส้น) ก็เป็นไปตามความถูกต้องของหลักวิศวกรรมด้วย ในส่วนที่เป็นบริการของเรานอกจากการให้รายละเอียดต่างๆดังที่กล่าวไปแล้วเรายังคำนึงถึงเศษเหลือและการนำกลับมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดอีกด้วย และหากจะกล่าวถึงข้อดีของการทำ Bar-Cut List เป็นข้อๆก็พอจะสรุปได้ดังนี้
1.ลดระยะเวลาและค่าแรงในการทำงาน เพราะให้ขนาดตัดของทุกชิ้นงานได้ถูกกำหนดมาแล้ว ช่างไม่ต้องเสียเวลาในการคำนวณขนาดตัดหน้างาน
2.ลดต้นทุนวัสดุ เพราะนอกจากเหล็กทุกเส้นจะถูกกำหนดระยะตัดมาเพื่อวัดตัดหน้างานแล้ว เศษที่เหลือจากการตัดยังมีการคำนวณให้นำกลับไปใช้ในจุดที่เหมาะสมโดยระบุตำแหน่งการใช้ชัดเจน จึงช่วยลดการสูญเปล่าของเศษวัสดุ
3.ลดข้อผิดพลาดในการก่อสร้าง เพราะลำดับขั้นตอนการทำงานใดก่อน -หลัง (ลำดับคานไหนก่อนหลัง)ได้ถูกกำหนดมาแล้วจึงเป็นการลดข้อผิดพลาดในการทำโครงสร้างหลัก - โครงสร้างรอง
5.ลดข้อผิดพลาดเรื่องระยะตำแหน่งจุดต่อต่างๆ เพราะระยะการงอปลายและการต่อทาบเหล็กที่มีใน List ได้ได้รับการคำนวณให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมและถูกต้องตามข้อกำหนด
6.ช่วยลดความผิดพลาดในการประมาณราคาโครงสร้าง เพราะปริมาณวัสดุที่นำมาใช้นั้นได้จากการคำนวณและวางแผนการใช้อย่างเป็นระบบมีที่มาที่ของการใช้ชัดเจน จึงเป็นการหาปริมาณวัสดุที่ค่อนข้างชัดเจนและะแน่นอนมากกว่าการประมาณการ
7.คาดการณ์ปริมาณวัสดุเหลือ เมื่อแล้วเสร็จการทำโครงสร้างแต่ละชั้นจะมีการสรุปเศษเหลือ(ชุดเศษเหลือ)และแสดงตำแหน่งนำที่จะนำไปใช้ต่อในโครงสร้างชั้นต่อๆไป และเมื่อแล้วเสร็จโครงสร้างทั้งหมดแล้วก็ยังแสดงเศษเหลือสุทธิทั้งหมด โดยแสดงเป็น 2ประเภทคือ 1)เศษที่มีความยาวมากกว่าหรือเท่า 1.50 ม.จะแสดงเป็นจำนวนท่อนตามความยาวของแต่ละชนิด2)เศษที่มีความยาวน้อยกว่า 1.50 ม.จะแสดงเป็นน้ำหนักรวม (ก.ก.)
8.เป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับจ้างเหมาบางประเภท ตัวอย่างเช่นการรับเหมาค่าแรงในงานเหล็ก โดยทั่วไปจะคิดค่าแรงตามน้ำหนักของเหล็กที่ใช้ โดยน้ำหนักเหล็กที่จะนำมาใช้ตกลงราคานั้นในขั้นต้นนั้นมักจะใช้การประมาณการซึ่งอาจคลาดเคลื่อนได้ แต่หากใช้ปริมาณที่ได้จากทำ Bar-Cut List ซึ่งมีรายละเอียดการใช้และจำนวนที่ชัดเจนจึงเป็นเกณฑ์การคิดที่เป็นธรรมกับทั้งผู้จ้างและผู้รับจ้าง
9.รู้มูลค่าเศษเหลือวัสดุ ในเศษเหล็กเหลือที่ระยะน้อยกว่า 1.50 ม.มักจะเป็นเศษที่นำมาใช้ประโยชน์ต่อไม่ได้ แต่มิได้หมายความว่าจะไม่มีมูลค่าเพราะเศษเหลือนี้สามารถนำมาขายได้ และในการทำ Bar-Cut List นี้สามารถระบุถึงน้ำหนักรวมของเศษเหล็กที่คาดว่าจะเหลือเหล่านี้ได้ ตลอดจนเศษที่มีความยาวที่มากกว่า 1.50 ม.ขึ้นไปก็จะแสดงจำนวนและขนาดไว้เพื่อเก็บเป็นข้อมูลสำหรับใช้ในโครงการอื่นต่อๆไป
อัตราค่าบริการวิชาชีพ
1. งานทำแบบ Shop Dwg.
1.1 ขนาดกระดาษ A1 ราคาประมาณ 1,600 บาท/แผ่น
1.2 ขนาดกระดาษ A2 ราคาประมาณ 1,200 บาท/แผ่น
1.3 ขนาดกระดาษ A3 ราคาประมาณ 800 บาท/แผ่น
2. งานทำแบบ As Built Dwg.
2.1 ขนาดกระดาษ A1 ราคาประมาณ 1,200 บาท/แผ่น
2.2 ขนาดกระดาษ A2 ราคาประมาณ 900 บาท/แผ่น
2.3 ขนาดกระดาษ A3 ราคาประมาณ 600 บาท/แผ่น
3. งานทำแบบ Bar Cut List
3.1 ขนาดกระดาษ A1 ราคาประมาณ 4,000 บาท/แผ่น
3.2 ขนาดกระดาษ A2 ราคาประมาณ 3,500 บาท/แผ่น
3.3 ขนาดกระดาษ A3 ราคาประมาณ 3,000 บาท/แผ่น
หมายเหตุ :
- ราคารวมplotแบบแล้ว ส่งfileงานเบื้องต้นเป็นPdfให้ตรวจเช็คก่อน ส่วนงานตัวจริงไฟล์Dwgจะส่งให้เมื่อชำระ ค่าบริการแล้ว
- ราคานี้เป็นราคาของงานอาคาร ประเภทคอนโด อาคารพักอาศัย
- ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงานและตามลักษณะอาคาร
- ราคาต่อรองกันได้